วันจันทร์ที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2556




ไดโนเสาร์


ไดโนเสาร์ (อังกฤษDinosaur) เป็นชื่อเรียกโดยรวมของสัตว์ดึกดำบรรพ์ในอันดับใหญ่ Dinosauria ซึ่งเคยครองระบบนิเวศบนพื้นพิภพ ในมหายุคมีโซโซอิก เป็นเวลานานถึง 165 ล้านปี ก่อนจะสูญพันธุ์ ไปเมื่อ 65 ล้านปีที่แล้ว คนส่วนใหญ่เข้าใจว่าไดโนเสาร์เป็นสัตว์เลื้อยคลาน แต่อันที่จริงไดโนเสาร์เป็นสัตว์ในอันดับหนึ่งที่มีลักษณะก้ำกึ่งระหว่างสัตว์เลื้อยคลานและนก

คำว่า ไดโนเสาร์ ในภาษาอังกฤษ dinosaur ถูกตั้งขึ้นโดย เซอร์ ริชาร์ด โอเวน นักบรรพชีวินวิทยา ชาวอังกฤษ ซึ่งเป็นการผสมของคำในภาษากรีกสองคำ คือคำว่า deinos (δεινός) (ใหญ่จนน่าสะพรึงกลัว) และคำว่า sauros (σαύρα) (สัตว์เลื้อยคลาน)
หลายคนเข้าใจผิดว่า ไดโนเสาร์ คือสัตว์ที่อาศัยอยู่ในมหายุคมีโซโซอิกทั้งหมด แต่จริงๆ แล้ว ไดโนเสาร์ คือสัตว์ชนิดหนึ่งที่อาศัยอยู่บนพื้นดินเท่านั้น สัตว์บกบางชนิดที่คล้ายไดโนเสาร์ สัตว์น้ำและสัตว์ปีกที่มีลักษณะคล้ายไดโนเสาร์ ไม่ถือว่าเป็นไดโนเสาร์ เป็นเพียงสัตว์ชนิดที่อาศัยอยู่ในยุคเดียวกับไดโนเสาร์เท่านั้น
แม้ว่าไดโนเสาร์จะสูญพันธุ์ไปนานหลายล้านปีแล้ว แต่คำว่าไดโนเสาร์ก็ยังเป็นที่รู้จักกันอย่างแพร่หลาย ทั้งนี้อาจเป็นเพราะไดโนเสาร์นั้นนับว่าเป็นสัตว์ชนิดหนึ่ง ที่เต็มไปด้วยปริศนาและความน่าอัศจรรย์เป็นอันมากนั่นเอง

ยุคของไดโนเสาร์

ยุคไทรแอสสิก
การครอบ ครองโลกของไดโนเสาร์ในยุคนี้โลกถูกปกคลุมด้วยป่าไม้จำนวนมาก พืชตระกูลที่ใช้สปอร์ในการขยายพันธ์ประสบความสำเร็จและมีวิวัฒนาการถึงขั้นสูงสุด ในป่ายุคไตรแอสสิกช่วงแรกนั้นมีสัตว์ใหญ่ไม่มากนักสัตว์ปีกที่ใหญ่ที่สุดคือแมลงปอยักษ์ที่ปีกกว้างถึง2ฟุตและได้ชื่อว่าเป็นนักล่าเวหาเพียงชนิดเดียวของยุคนี้ เนื่องจากในช่วงปลายของยุคเปอร์เมียนเกิดการสูญพันธุ์ครั้งใหญ่ของสิ่งมีชีวิตทำให้พวกสัตว์เลื้อยคลานกึ่งเลี้ยงลูกด้วยนมจำนวนมาก สูญพันธุ์ไปพวกที่เหลือได้สืบทอดเผ่าพันธุ์มาจนถึงต้นยุคไตรแอสสิกในกลุ่มสัตว์เหล่านี้เจ้าซินนอกนาตัสเป็นสัตว์นักล่าที่น่าเกรงขามที่สุด ในหมู่พวกมันและในช่วงนี้เองไดโนเสาร์ก็ถือกำเนิดขึ้นโดยพวกมันวิวัฒนาการมาจากสัตว์เลื้อยคลานที่เดินด้วยขาหลังอย่างเจ้าธีโคดอนซึ่งถือกันว่าเป็นบรรพบุรุษของไดโนเสาร์ การสูญพันธ์ครั้งใหญ่ในยุคเปอร์เมียนทำให้พวกมันสามารถขยายเผ่าพันธุ์ได้อย่างมากมายในช่วงต้นยุคไตรแอสสิกและกลายมาเป็นคู่แข่งของพวกสัตว์เลื้อยคลานกึ่งเลี้ยงลูกด้วยนมที่เหลือ ไดโนเสาร์ในยุคแรกเป็นพวกเดินสองขา เช่น พลาทีโอซอร์ ไดโนเสาร์กินพืชคอยาวที่เป็นบรรพบุรุษของพวก ซอโรพอด หรือเจ้าซีโลไฟซิส บรรพบุรุษของพวกกินเนื้อ นักล่าสองขาความสูง 1 เมตร การที่มันสามารถเคลื่อนไหวได้ด้วยสองขาหลังทำให้พวกมันมีความคล่องตัวในการล่าสูงกว่า ซินนอกนาตัส หรืออีรีโทรซูคัสที่ยาวถึง 15 ฟุตซึ่งมีกรามขนาด ใหญ่และแข็งแรงนักล่าเหล่านี้ได้เปรียบซินนอกนาตัสและสัตว์เลื้อยคลานกึ่งเลี้ยงลูกด้วยนมอื่นๆทำให้พวกนี้ต้องวิวัฒนาการให้มีขนาดเล็กลงเพื่อที่จะหลบหนีพวกไดโนเสาร์ และหลีกทางให้เผ่าพันธุ์ไดโนเสาร์ก้าวมาครองโลกนี้แทนในที่สุด
ยุคจูราสสิก
ไดโนเสาร์ครอบครองโลกได้สำเร็จในตอนปลายยุคไตรแอสสิก จนเมื่อเข้าถึงยุคจูราสสิกพวกมันก็ขยายเผ่าพันธุ์ไปทั่วโลกในยุคนี้ผืนแผ่นดินถูกปกคลุมด้วยพืชขนาดยักษ์จำพวกสนและเฟิร์นอย่างไรก็ตามได้เริ่มมีพืชดอกปรากฏขึ้นเป็นครั้งแรกในช่วงกลางของยุคนี้นับว่าเป็นจุดเริ่มของการขยายพันธุ์รูปแบบใ หม่ของพวกพืชในยุคจูราสสิกนับได้ว่าเป็นยุคที่พวกไดโนเสาร์คอยาวตระกูลซอโรพอด(Sauropod)ขยายเผ่าพันธุ์อย่างกว้างขวางพวกมันเป็นไดโนเสาร์ ขนาดยักษ์สายพันธุ์ที่รู้จักกันดีก็คือ แบรกคิโอซอรัส (Brachiosaurus) ดิปโพลโดคัส (Diplodocus) และอะแพทโตซอรัส (Apatosaurus)หรืออีกชื่อคือบรอนโตซอรัสนอกจากนี้ยังมีชนิดอื่นๆอีกมากมายสัตว์ยักษ์เหล่านี้ครั้งหนึ่งถูกมองว่า เป็นสัตว์ที่โง่และไม่อาจป้องกันตัวจากสัตว์นักล่าได้ทว่าในปัจจุบันนักโบราณคดีชีววิทยา (paleontology)เชื่อว่าพวกมันใช้หางที่หนาหนักศัตรูที่มาจู่โจมซึ่งนับว่าเป็นการตอบโต้ที่น่ายำเกรงไม่น้อยและเพราะหางที่ยาว และมีน้ำหนักมากนี่เองที่ทำให้พวกมันต้อง มีคอยาวเพื่อสร้างสมดุล ของสรีระของมัน
ยุคครีเตเซียส
ยุคครีเตเชียสเป็นยุคที่ต่อจากยุคจูแรสสิกสัตว์เลื้อยคลานเจริญมากในยุคนี้ ที่ประเทศอเมริกาก็มีการค้นพบสัตว์ทะเลที่เคยอาศัยอยุ่ในช่วงเดียวกันกับไดโนเสาร์ได้แก่ พวกพลีสิโอซอร์เช่น อีลาสโมซอรัส พวกกิ้งก่าทะเลโมซาซอร์อย่างไฮโนซอรัส และอาเครอนเป็นพวกเต่าอาศัยอยู่ในทะเล บนท้องฟ้าก็มีเคอาร์โคโทรุสซึ่งมีขนาดปีกยาวถึง 15 เมตร บินอยู่มากมายยุคนี้เป็นยุคที่ไดโนเสาร์มีการพัฒนาตัวเองอย่างมาก พวกซอริสเชียนที่กินเนื้อมีตัวขนาดใหญ่ได้แก่อัลเบอร์โตซอรัส ไทรันโนซอรัสปรากฏในยุคนี้มีลักษณะดังนี้ไทรันโนซอรัสนั้นมีเล็บที่ขาหลังใหญ่โตและมีฟันแหลมยาวประมาณ 13 เซนติเมตร เพื่อใช้จับเหยื่อพวกซอริสเชียนที่กินทั้งพืชและสัตว์เป็นอาหารก็ได้แก่ ออนิโตมิมัสพวกออร์นิธิสเชียนมักจะเป็นพวกกินพืชพวกที่ถูกค้นพบครั้งแรกก็ได้แก่ อิกัวโนดอน แล้วก็พบ ฮิพุชิโรโฟดอน และ ฮาโดโรซอรัส พวกออร์นิธิสเชียน ได้แก่ ไทรเซอราทอปส์ แองคิโลซอรัส พบเจริญอยู่มากมาย แต่ว่าก่อนจะหมดยุคครีเตเชียส นั้นอากาศก็เริ่มเปลี่ยนแปลงไดโนเสาร์บางพวกเริ่มตายลงและสูญพันธุ์หลังจากไดโนเสาร์สูญพันธุ์ไปแล้วสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมก็มีบทบาทขึ้นมาบนโลก

ไดโนเสาร์กินเนื้อ



ชิลันไทซอรัส (Chilantaisaurus).....ไดโนเสาร์ผู้เข้ารอบชนิดนี้มาจากยุคครีเตเชียสตอนปลายครับ หรือประมาณ 92 ล้านปีก่อน ฟังจากชื่อแล้วก็อาจจะพอทราบว่า มันถูกค้นพบที่ประเทศจีนนี่เองครับ เมื่อปี ค..1964 เมื่อไม่นานมานี้เอง จากนักโบราณคดีชาวจีนชื่อ ฮู (Hu) เช่นเคยกับไดโนเสาร์กินเนื้อนักล่าทั่วไปครับ ที่จะมีกรามและฟันแหลมคมขนาดใหญ่เอาไว้จับเหยื่อ เดินสองขา น้ำหนักโดยประมาณ 4-6 ตัน ความยาวจากหัวถึงปลายหางประมาณ 13 เมตรครับ จากการศึกษาพบว่ามันเป็นญาติที่อยู่ในวงศ์เดียวกันกับอัลโลซอรัสและคาร์โนซอรัสครับ

ซอโรฟากาแน็กซ์ (Saurophaganax).....มาถึงผู้เข้ารอบที่มาจากยุคจูราสสิคตอนปลายกันบ้างครับ หรือราว 151 ล้านปีก่อน เจ้าไดโนเสาร์ชนิดนี้ก็เป็นญาติกับอัลโลซอรัสเหมือนกันครับ มีการค้นพบกันเมื่อปี ค..1931 ครับ ในรัฐโอคลาโฮมา สหรัฐอเมริกา โดยนักบรรพชีวินวิทยา จอห์น วิลลิส (John Willis) ซอโรฟากาแน็กซ์มีความยาวจากหัวจรดปลายหางประมาณ 13.1 เมตรครับ

 คาร์แครอนโรดอนโทซอรัส (Carcharodontosaurus).....ไดโนเสาร์ผู้มาจากครีเตเชียสยุคกลางหรือราว 100 ล้านปีก่อน ขนาดใหญ่ที่สุดเท่าที่เคยค้นพบ มีน้ำหนักประมาณ 15 ตันครับ ความยาวประมาณ13.2 เมตรครับ เจ้าคาร์แครอนโรดอนโทซอรัสนี่มีกะโหลกค่อนข้างยาวกว่าไดโนเสาร์กินเนื้อพันธุ์อื่นอยู่ครับ ขนาดยาวที่สุดของกะโหลกก็เกือบ 2เมตรแล้วล่ะครับ รวมทั้งขนาดของซี่ฟันที่ยาวเรียงเต็มปาก ทำให้มันกลายเป็นหนึ่งในสุดยอดนักล่าของยุคนั้นเลยทีเดียว

ไจกันโนโทซอรัส (Giganotosaurus)
มาต่อกันอย่างไวถึงอันดับที่ 3 แล้วครับ กันเจ้ากิ้งก่ายักษ์ ไจกันโนโทซอรัส ยักษ์ใหญ่ ใน ไดโนเสาร์กินเนื้อนักล่า ที่เคยโรมรันและครองโลกใบนี้อยู่ช่วงระยะเวลาหนึ่งในอดีต ไจกันโน อาศัยในช่วงยุคครีเตเชียสตอนปลาย หรือประมาณ 97 ล้านปีก่อนครับ มีการค้นพบครั้งแรกที่ประเทศอาร์เจนติน่า เมื่อปี ค..1993 โดย รูเบน คาร์โรลินี่ (Ruben Carolini) นักสะสมฟอสซิลชาวอาร์เจนติน่า คาดกันว่าน้ำหนักของเจ้าไจกันโน นี่มีน้ำหนักอยู่ประมาณ 13.3 ตัน เลยทีเดียวครับ เมื่อเทียบกับโครงสร้างอันมหึหาของมัน และกะโหลกยาว1.9 เมตร พร้อมด้วยขากรรไกรและฟันแหลมคมขนาดยักษ์ เป็นรองแค่เจ้าคาร์แคโรดอนโทซอรัสอยู่นิดเดียว และจากผลการศึกษาก็พบว่ามันเป็นญาติกับคาร์แคโรดอนโทซอรัสซะด้วยซิครับ สำหรับความยาวของเจ้าไจกันโน นี่ยาวประมาณ 13.3 เมตรครับ ถือว่าไล่เลี่ยกับญาติของมันเลยทีเดียว และด้วยความยาวขนาดนี้ทำให้มันเข้าอันดับมาได้อย่างสบายๆ ครับ ในตอนแรกมีการประมาณกันว่ามันเป็นไดโนเสาร์ที่ใหญ่ที่สุด แต่จากผลการศึกษาและวิจัยก็พบว่า ไจกันโนโทซอรัส มีขนาดใหญ่กว่าทีเร็กซ์ ไม่มากเท่าใดนัก เพียงแต่ขนาดช่วงลำตัวอาจจะมีความยาวมากกว่าเท่านั้นเองครับ

 ออกซ์ซัลไลอา (Oxalaia)
มาถึงรองแชมป์ไดโนเสาร์ชนิดเทอโรพอดส์หรือไดโนเสาร์กินเนื้อยักษ์ใหญ่นักล่า อันดับที่สองแล้วครับ ผู้ที่เข้ารอบ ได้แก่ ออกซ์ซัลไลอา ครับ เจ้ากิ้งก่ายักษ์ตัวนี้มีชีวิตอาศัยอยู่เมื่
อประมาณ98 ล้านปีมาแล้ว หรือยุคครีเตเชียสตอนปลายนั่นเองครับ แต่ก็เพิ่งมีการค้นพบเจ้า ออกซ์ซัลไลอา ชนิดนี้ นี่เมื่อปี ค..2004 ที่ผ่านมานี่เองครับ เรียกได้ว่า ค้นพบกันมาหมาดๆ เลยทีเดียว โดยทีมขุดค้นซากฟอสซิลได้ที่ประเทศบราซิล เจ้าออกซ์ซัลไลอานั้น รูปร่างแตกต่างจากตัวอื่นนิดหน่อยตรงที่ รูปร่างหัวของมันนั้นแคบและยาวครับ เหมือนกับตะโขงหรือจระเข้ ในปัจจุบัน เดินสองเท้า และมีแผงขึ้นที่กลางหลัง อาศัยครึ่งบกครึ่งน้ำเหมือนจระเข้อีกเช่นกัน แต่มันกลับอยู่กันคนละวงศ์ครับ ไม่ได้มีความเกี่ยวข้องกัน หากแต่ว่ามันกลับคล้ายญาติของมันเองที่ได้อันดับหนึ่งอยู่มากครับ ดูผิวเผินแล้วมีความคล้ายคลึงกันมากทีเดียว มาดูกันที่ส่วนน้ำหนักโดยประมาณออกซ์ซัลไลอานั้น อยู่ที่ประมาณ ตันครับ และความยาวจากหัวถึงหางมีประมาณ 14เมตร เรียกได้ว่าไดโนเสาร์ยักษ์ใหญ่อีกตัวหนึ่งกันเลยทีเดียว แต่ถึงมันจะตัวยักษ์ใหญ่ขนาดนี้ แต่ก็ยังไม่สามารถคว้าอันดับหนึ่งมาครองได้ครับ เลยทำให้ต้องอยู่อันดับที่สองไปก่อน ใกล้ถึงอันดับหนึ่งแล้ว คิดว่าทุกคนคงจะเดาได้ครับ ว่ามันเป็นไดโนเสาร์ตัวไหน 

สไปโนซอรัส อีจิพติคัส (Spinosaurus aegyptiacus)
และแล้วเราก็มาถึงอันดับ 
แล้ว ครับ กับแชมป์เจ้าของอันดับไดโนเสาร์ยักษ์ใหญ่กินเนื้อนักล่าที่มีขนาดใหญ่ที่สุด เท่าที่เคยปรากฏบนพื้นพิภพครับ เจ้าของตำแหน่งนี้จะเป็นไดโนเสาร์ตัวไหนไปไม่ได้นอกจาก สไปโนซอรัส อีจิพติคัส เจ้ากิ้งก่ายักษ์มีแผงที่หลังนั่นเองครับ สไปโนซอรัส นั้นถูกค้นพบครั้งแรกที่ประเทศอียิปต์เมื่อปี ค..1910ครับ จากนักบรรพชีวินวิทยาชาวเยอรมัน เอินร์ส สโตรเมอร์ (Ernst Stromer) คาดกันว่า สไปโนซอรัส นั้นมีชีวิตอาศัยอยู่ในช่วงยุคครีเตเชียส หรือประมาณ 110 ล้าน ปีมาแล้ว และก็สูญพันธุ์ไปพร้อมกับเพื่อนไดโนเสาร์อีกนับพันชนิด เมื่อครั้งที่เกิดเหตุการณ์การสูญพันธุ์ครั้งใหญ่ (The Great Extinction) จะด้วยจากการขาดแคลนอาหาร โรคระบาด ดาวเคราะห์พุ่งชนโลกนี้หรืออะไรก็แล้วแต่ครับ มันได้ทิ้งซากฟอสซิลเอาไว้ให้โลกนี้ได้รู้ว่าครั้งหนึ่งในอดีตอันไกลโพ้น นั้นเคยปรากฏนักล่าขนาดมหึมาอยู่บนโลกใบนี้

.....เรามาดูกันถึงลักษณะรูปร่างของสไปโนซอรัสกันดีกว่าครับ เจ้าสไปโน นั้น แตกต่างจากเจ้าไดโนเสาร์นักล่าตัวอื่นอยู่นิดหน่อยครับ ตรงที่มันมีกะโหลกแคบและยาวเหมือนจระเข้ในยุคปัจจุบัน และแผงกลางหลัง สูง
ประมาณ 2 เมตร มือ และขาที่มีขนาดใหญ่ทั้งสองข้าง ซึ่งเมื่อเปรียบเทียบแล้ว มีขนาดใหญ่กว่าไดโนเสาร์นักล่าในประเภทเดียวกันที่มักจะมีมือหรือขาหน้าที่ เล็กเสียอีกครับ มาวัดความยาวกันบ้าง สไปโน นั้นมีความยาวตลอดหัวถึงปลายหาง 18 เมตร น้ำหนักประมาณ 23 ตัน เรียกได้ว่าขนาดมหึมากันเลยทีเดียวครับ และสถานที่อยู่อาศัยของมันก็แปลกว่าเพื่อนอีกเช่นกัน ซึ่งไดโนเสาร์นักล่าชนิดอื่นนั้นจะอยู่บนบกซะเกือบทั้งส่วนใหญ่ แต่มี การตั้งทฤษฎีเอาไว้ครับว่า สไปโนซอรัส สามารถอาศัยอยู่ได้ทั้งในน้ำแหละบนบก ตรงนี้ก็ไปสอดคล้องกับทฤษฎีที่ว่า แผงที่หลังของมันนั้นมีเอาไว้เพื่อสำหรับบังคับทิศทางเวลาว่ายน้ำเหมือนหาง เสือนั่นเอง บางทฤษฎีก็ว่ามันกินปลาเป็นอาหารหลัก ส่วนจานรองก็ได้แก่พวกไดโนเสาร์ตัวเล็กๆ ทั่วไป แต่บางทฤษฎีก็ว่ามันเป็นไดโนเสาร์นักล่ากินเนื้อตัวจริงเสียงจริงเมื่อ วิเคราะห์จาก ขากรรไกรและโครงสร้างด้านกายภาพแล้ว มันสามารถวิ่งไล่จับเหยื่อได้สบายๆ สไปโนซอรัส นั้นไม่ได้เป็นที่รู้จักกันในวงกว้างนัก ถึงแม้สไปโนซอรัสนั้นจะมีรูปร่างที่ค่อนข้างเป็นเอกลักษณ์โดดเด่น แต่ก็ไม่ค่อยเป็นที่สนใจเท่ามากเท่าไหร่ครับ จะมาโด่งดังไปทั่วโลก เด็กๆ รู้จักเจ้าไดโนเสาร์ตัวนี้ว่ามีตัวตน ก็เมื่อตอนที่ภาพยนตร์ภาคต่อยอดฮิตเรื่องจูราสสิค พาร์ค 3 เข้าฉายนั่นเองครับ
สไปโนซอรัสขนาดเปรียบกับมนุษย์และช้าง
.....และเมื่อครั้งที่ภาพยนตร์เรื่องนี้เข้าฉาย ก็ทำให้ความคุ้นเคยที่ว่า ทีเร็กซ์ นั้นเป็นไดโนเสาร์นักล่าที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในโลกตกไปซะสนิทเลยครับ และในภาพยนตร์ก็ได้ตอกย้ำที่ตรงจุดนี้อีกครั้งจากทีมงานสร้าง ด้วยการให้ สไปโนซอรัส พิชิต ทีเร็กซ์ ลงได้อย่างราบคาบนั่นเองครับ ซึ่งตรงนี้ทำให้มีผู้ที่แอนตี้เจ้า สไปโน นี้อยู่เล็กน้อยครับ โทษฐานที่มาพิชิตไดโนเสาร์ตัวโปรดของหลายๆ ครับ ...อ่า จบลงไปแล้วสำหรับ 10 อันดับสุดยอดไดโนเสาร์กินเนื้อนักล่ายักษ์ใหญ่ …ก็เป็นแค่บทความสั้นๆ นะครับ ไม่ได้ลงในเรื่องของรายละเอียดเฉพาะทางมากนัก เพราะถ้าเจาะลึกลงไป แล้ว เล่ากันยาวเลยครับ เพราะไดโนเสาร์แต่ละตัวก็ยังมีรายละเอียดปลีกย่อยอีกมากมาย เกรงว่ามันจะยาวเกินไป เลยตัดนำมาให้ชมกันพอเห็นภาพเท่านั้นครับ สำหรับผู้ที่สนใจเพิ่มเติมก็ลองหาดูเพิ่มได้จากลิงค์ด้านล่างหรือเข้าไปเสิร์ชหาข้อมูลจาก Google ก็ได้ครับ มีเว็บอีกเยอะแยะที่นำเสนอข้อมูลแบบละเอียดยิบเลย





ไดโนเสาร์กินพืช

Dilophosaurus





Dilophosaurus เป็นไดโนเสาร์ กินเนื้อ ชื่อของมันหมายถึงจิ้งจกหงอนคู่ มันกินไดโนเสาร์กินพืชขนาดเล็กเป็นอาหาร มันมีความยาวประมาณ 6 เมตร สูงประมาณ 1.5เมตร น้ำหนักประมาณ 300-450 กิโลกรัม
อาศัยอยู่ในยุคจูราสสิค ค้นพบครั้งแรกที่รัฐอริโซนา สหรัฐอเมริกา มันยืน 2 ขาและวิ่งเร็วมาก เมื่อต้องการจะผสมพันธุ์หรือเจอศัตรูที่ตัวไม่ใหญ่มาก มันจะแผ่แผงคอออกมา เพื่อหลอกล่อตัวเมียหรือข่มขู่ศัตรู 
ที่มา


Diplodocus

Diplodocus เป็นไดโนเสาร์กินพืชตัวใหญ่ ยาวประมาณ27เมตร หนักประมาณ11ตัน มีจุดเด่นคือคอที่ยาวมากและหางที่ยาวกว่าคอ มันใช้หางเป็นอาวุธในการไล่ศัตรูเหมือนแส้ ทำให้มันมีฉายาว่า Dippy มันกินใบไม้จากต้นสนเป็นอาหารเนื่องจากคอที่ยาว ซึ่งมันสามารถยืน2ขาได้ชั่วครู่ ตั้งแต่บนหัวจนถึงเกือบจะปลายหางมีหนามเล็กๆเรียงเป็นเส้นตรง ไดโนเสาร์ชนิดนี้มีชื่อเสียงและรู้จักกันทั่วไป มันถูกค้นพบในสหรัฐอเมริกา ในรัฐโคโลราโด/มอนทานา/ยูทาห์/ไวโอมิง มันมีชีวิตในช่วงยุคครีเตเชียส ประมาณ150ล้านปีที่แล้ว




อลาโมซอรัส  เป็นหนึ่งในไดโนเสาร์ซอโรพอดชนิดสุดท้าย ก่อนที่ไดโนเสาร์จะสูญพันธุ์ ค้นพบฟอสซิลที่อเมริกาเหนือ ยาวประมาณ 25 เมตร อาศัยอยู่ในปลายยุคครีเทเชียส เมื่อประมาณ 66 ล้านปีก่อน กินพืชเป็นอาหาร หนัก 30 ตัน 
ถ้าเข้าไม่ได้ให้ไปที่http://th.wikipedia.org/wiki/แล้วค้นหาว่าalamosaurusนะครับ
.คามาราซอรัส (Camarasaurus) วงศ์ คาเมราซอริเด อันดับแยกย่อย ซอโรโพดา อันดับย่อย ซอโรโพโดมอร์พา อันดับ ซอริสเชีย เป็นไดโนเสาร์กินพืช ตระกูลซอโรพอด 4 เท้า มีขนาดลำตัวไม่ใหญ่ มีชีวิตอยู่ในกลางถึงปลายยุคจูแรสซิก เมื่อ 155 -145 ล้านปีก่อน มีความยาวประมาณ 12-18 เมตร กะโหลกศีรษะมีลักษณะสั้นแต่ลึกเข้าไปด้านใน ขากรรไกรมีขนาดใหญ่ คอและหางสั้นกว่าซอโรพอดตัวอื่น ไม่มีปลายหางแส้ ลำตัวกลมหนาและค่อนข้างสั้น แขนขาใหญ่โตมีลักษณะคล้ายเสาหิน ขาหลังยาวกว่าขาหน้าเล็กน้อย มีรูจมูกขนาด ใหญ่เหนือดวงตา เพื่อช่วยในการระบายความร้อนและดมกลิ่น